ธรรมรัฐ

ผมตั้งใจที่จะเขียนเกี่ยวกับ “ธรรมรัฐ” (good governance) หรือที่อาจจะมีพูดถึงด้วยคำอื่นๆ เช่น ธรรมาภิบาล ธรรมาธิปไตย เป็นต้น เพราะผมเห็นว่า เรื่องนี้เป็นรากเง่าหนึ่งของปัญหาสังคมและการเมืองไทย ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา

ผมจำได้ว่า ผู้ที่เริ่มพูดเรื่องนี้อย่างเด่นชัดที่สุดในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองไทย คือ ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว โดยท่านพูดว่ารัฐบาลของท่านจะเน้นเรื่อง “ความโปร่งใส” ยอมรับว่าในตอนนั้นผมเองก็แทบจะไม่เข้าใจว่าท่านพูดถึงอะไร เพราะอะไร จนกระทั่งผมได้มีโอกาสเป็นกรรมการในบริษัทมหาชนที่จดทะบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับการอบรมในเรื่องนี้ และมีประสบการณ์ตรง จึงได้เข้าใจมากขึ้น

กล่าวโดยสรุป สังคม เศรษฐกิจ การเมืองของเรากำลังก้าวเข้าไปสู่ระบบที่มีธรรมาภิบาลมากขึ้นๆ

หลักการธรรมาภิบาลที่สำคัญ ประกอบด้วย หลักการความโปร่งใส (Transparency) การกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในผลที่เกิดขึ้น (Accountability) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลไม่น่อมแน้ม (Efficiency & Effectiveness) ความรับผิดชอบต่อผู้อื่นหรือบุคคลที่สาม (Responsibility) ความยุติธรรม (Fairness) และจริยธรรม (Ethics) ผมจะไม่ลงรายละเอียดในแต่ละเรื่องเหล่านี้ ท่านที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งอื่นๆ

หลักธรรมาภิบาลได้ ถูกนำมาใช้ในวงการธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในบริษัทมหาชน ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “บรรษัทภิบาล” (corporate governance) ซึ่งก็เพิ่มความเข้มข้นขึ้นตลอดระยะเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นระบบที่ข่วยขจัดความขัดแย้งในผลประโยชน์ และช่วยประกันความเจริญร่งเรืองในระยะยาว

ในวงการบริหารกิจการของรัฐ หรือวงกการเมืองไทย ต้องถือว่า รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่นำเอาหลักการนี้เข้ามาใช้อย่างกว้างขวางและเป็น ระบบ ที่สำคัญคืกการเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ การมีส่วนร่วมโดยตรง ของประชาชน และหลักการอื่นๆ ที่มุ่งขจัดนักการเมือง รวมถึงพรรคการเมืองชั่ว ซึ่งเป็นอุปสรรคของการพัฒนา ประชาธิปไดยไทย ถึือได้ว่า 2540 เป็น ธรรมศักราชที่ 1

ตรงนี้แหละที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาความขัดแยังหลายๆ อย่างในวงการเมืองไทย

เพื่อน ผมคนหนึ่งซึ่งถูกจัดว่าเป็นนักการเมืองน้ำดี ฝีปากเฉียบกล้าในสภาฯ ให้ความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 40 นี้ในตอนที่มีการประกาศใช้ว่า เป็นรัฐธรรมนูญ “ที่เต็มไปด้วยอคติต่อนักการเมือง” ความเห็นนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจถึงสาระและความสำคัญของ ธรรมรัฐ ถ้านักการเมืองน้ำดีเพื่อนผมยังคิดอย่างนี้ แล้วนักการเมืองน้ำไม่ค่อยดีอื่นๆ จะรู้สึกอย่างไร

ความรู้สึกเช่น นี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่ และกรรมการบริษัทก็เคยรู้สึกทำนองเดียวกันเมื่่อ กลต บังคับให้บริษัทมหาชนทั้งหลายต้องใช้หลักบรรษัทภิบาล

ส่ิ่งที่ตามมา ก็คือ ความสับสนวุ่นวายต่างๆ ตั้งแต่คดีซุกหุ้น (รอบแรก) จนถึงการปฏิเสธการชี้แจงและถูกตรวจสอบโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญของนักการ เมืองใหญ่ การออกมาเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพือประชาธิปไตย และที่สุดการัฐประหาร 2549

รัฐธรรมนูญ 2550 ที่เกิดขึ้นต่อมานั้น อันที่จริงไม่ได้แตกต่างในหลักการสำคัญเรื่องธรรมรัฐ จากรัฐธรรมนูญ 40 แต่อาจจะเข้มข้นขึ้นในบางส่วน

การยุบพรรคการเมืองจำนวนหนึ่ง ที่ตามมา คนจำนวนหนึ่งเห็นว่าเป็นการกลั่นแกล้ง หรือ สองมาตรฐาน ผมได้เคยแสดงความเห็นในคดียุบพรรคไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้ของผม

คดี ที่ดินรัชดา เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่แสดงถึงความไม่เข้าใจในเรื่องธรรมรัฐของคนจำนวน มาก ซึ่งแสดงออกจากคำพูดที่ว่า “คนซื้อไม่ผิด คนขายไม่ผิด แต่คนเซ็นยินยอมกลับผิด” เรื่องนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้กล่าวหาผู้ซ้ือหรือผู้ขาย แต่ฟ้องว่าอดีตนายกทักษิณ ทำในสิ่งที่กฏหมายห้ามเอาไว้ เพราะฉะนั้น ศาลจึงไม่วินิจฉัยว่า มีการทุจริตหรือไม่ในการซื้อขายนี้ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการทุจริต คนที่เข้าใจเรื่องนี้ดีคนหนึ่งคือ เฉลิม อยู่บำรุง เมื่อออกมาพูดว่า “นายกทักษิณไม่ได้ทำผิดกฏหมาย แต่ทำสิ่งที่กฏหมายห้าม” แล้วทำไมกฏหมายถึงห้ามไม่ให้นายกทักษิณหรือภรรยามาซื้อที่ดินซึงเป็นทรัพย์สินของรัฐบาล คำตอบคือ เพราะมันมีโอกาสเกิดความขัดแย้งในผลประโยชน์ (potential conflict of interest) ซึ่งกฏหมายต้องการกันไม่ไห้เกิดขี้น และกำหนดโทษจำคุกไว้ ซึ่งอาจจะหนักไปหน่อย แต่นี่แหละคือสาระสำคัญอย่างหนี่งของธรรมรัฐ

คดีทำกับข้าวออกทีวีของอดีตนายกสมัคร สุนทรเวช ก็ทำนองเดี่ยวกัน มันมีโอกาสเกิดความขัดแย้งในผลประโยชน์

เพื่อน นักการเมืองน้ำดีของผม ตอนนี้เข้าร่วมขบวนการเสื้อแดงอย่างเต็มตัว และเรียกร้องให้กลับไปใช้รัฐธรรมนุญ 40 “ที่เต็มไปด้วยอคติต่อนักการเมือง” ชักจะยังไงๆ อยู่นะ

รัฐธรรมนูญ 40 หรือ 50 ไม่ใช่รัฐธรรมนุญที่สมบูรณ์เพรียบพร้อม มีส่วนที่แรงไปบ้าง เบาไปบ้าง ไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติบ้าง แต่โดยรวมต้องถึอว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริม ธรรมรัฐ ปัญหาที่แท้จริงก็คือ เรายังไม่ได้ให้โอกาสรัฐธรรมนูญสองฉบับนี้ได้ทำงานตามที่ออกแบบไว้ได้อย่าง เพียงพอและนานพอที่ผู้คนในสังคมจะได้เข้าใจ และได้รับประโยชน์อย่่างเต็มที่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *