คดีประวัติศาสตร์ที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย และให้ระงับสิทธิการเลือกตั้งของกรรมการพรรค 5 ปี นับเป็นความก้าวหน้าในมาตรฐานทางจรรยาบรรณ ของระบบยุติธรรมไทย
ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้มาพักใหญ่ๆ แม้ว่าอาจจะดูล่าไปบ้าง แต่ก็คงต้องเขียนไว้เป็นหลักฐานเสียหน่อย
ผล การตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิเลือกตั้งของอดีตกรรมการพรรค เป็นประเด็นถกเถียงกันในทุกวงการ โดยเฉพาะในประเด็นหลัง หลายคนเชื่อว่าเป็นการตัดสินที่ขาดมาตรฐาน เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองมากกว่าอื่นใด
ผมกลับมองว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างมืออาชีพและด้วยความกล้าหาญ
เรื่อง ของเรื่องก็คือ พรรคไทยรักไทย โดยผู้บริหารบางคน ได้พยายาม “จัดหา” ผู้สมัครจากพรรคการเมืองเล็กให้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งหลายเขต เพื่อแก้ปัญหาผู้สมัครจากพรรคเดียว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่แม้แต่ ทรท เองก็ไม่ได้พยายามที่จะแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อเท็จจริง แต่กลับไปเน้นประเด็นเท็คนิคทางกฏหมาย หรือประเด็นผลกระทบทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นกรณี ทรท ถูกยุบพรรค จนถึงวินาทีนี้ ผมก็ยังไม่เห็นอดีตผู้บริหาร ทรท ผู้ใดออกมาปฏิเสธข้อเท็จจริง หรือมีผู้ใดออกมากล่าวคำขอโทษใดๆ กับประชาชน
ภาย ใต้ภาวะการณ์ที่ทรท มีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคักและบางกรณีค่อนข้างจะโจ๋งครึ่มในการ “จัดหา” ผู้สมัครจากพรรคการเมืองขนาดเล็กมาลงสมัครในหลายๆ เขต รวมถึงที่ไม่ได้เป็นประเด็นโดยตรงของคดีนี้ ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ย่อมจะไม่พ้นหูพ้นตาของพรรคประชาธิปัตย์ คู่แข่งทางการเมือง และก็เป็นธรรมดาที่ ปชป จะพยายามเอาเรื่องนี้มาเปิดโปงและโจมตี ทรท ผมมองไม่เห็นว่า ปชป จะมีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องไปจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัครแล้วออกมาปรักปรำ ทรท ตามที่ฟ้อง
คงไม่ต้องพูดว่า การกล่าวโจมตี “ระบอบทักษิณ” ของ ปชป เข้าข่ายการพยายามล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยของไทย ไม่มีใครบ้องตื้นคิดเช่นนั้น
อันที่จริงต้องยอมรับว่า สำนวนฟ้อง ปชป ค่อนข้างอ่อน ทำให้คิดไปได้ว่า คงต้องการฟ้องแก้เกี้ยวคู่ไปกับการฟ้อง ทรท และ ปชป ก็ทำได้ดี โดยโต้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อเท็จจริงเป็นหลัก
ประเด็นการบังคับใช้กฏหมายย้อนหลังในการตัดสิทธิเลือกตั้งอดีตกรรมการ ทรท ดูจะยังเป็นประเด็นที่คาใจหลายคน
ผม ขอตั้งคำถามอย่างนี้ เราอนุญาตให้คนบ้ามีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือไม่ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางกฏหมายแต่ก็เชื่อว่ากฎหมายเลือกตั้งของไทยที่ผ่านมา เกือบทุกฉบับคงไม่ได้ให้สิทธินี้เอาไว้ แม้ว่าสิทธิเลือกตั้งจะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แม้ว่าภาวะความวิกลจริตจะเกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายจะบัญญัติ แต่ก็มีผลเป็นการตัดสิทธิเลือกตั้งสำหรับผู้วิกลจริต โดยเฉพาะถ้าได้มีคำสั่งศาลว่าเป็นผู้วิกลจริต การตัดสิทธิดังกล่าวไม่ใช่การลงโทษ และความวิกลจริตก็ไม่ใช่ความผิดอาญา เรื่องการตัดสิทธิเลือกตั้งของอดีตกรรมการ ทรท นี้ก็เช่นกัน และศาลท่านก็ได้บรรยายไว้อย่างชัดเจนในคำพิภากษา
เราคงต้องถามตัวเรา เองว่า การกระทำของ ทรท โดยผู้บริหารบางคน เป็นความผิดเพียงใดหรือไม่ ผมเองคิดว่าเป็นอาชกรรมขั้นร้ายแรงทีเดียว เป็นการบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตย เป็นการกระทำที่ค่อนข้างอุกอาจ ราวกับจะประกาศว่า “ฉันจะทำอะไรก็ได้” ถ้าเราปล่อยให้อดีตผู้บริหารที่กระทำการหรือยอมให้มีการกระทำเช่นนี้กลับมา ตั้งพรรคการเมืองใหม่ จะใช้ชื่อเดิมหรือไม่ก็ตาม แล้วดำเนินการทางการเมืองต่างๆ ได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น กฏหมายก็แทบจะไม่มีประโยชน์ ผมเห็นว่า ควรจะต้องคงข้อกำหนดทางกฏหมายข้อนี้เอาไว้ด้วยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ด้วยซ้ำไป
การตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม เพราะอาชญากรไม่ได้ถูกปล่อยให้ลอยนวลด้วยเหตุผลทางเทคนิคของกฏหมาย หรือ พยานหลักฐานอ่อน สาวไม่ถึง นี่แหละคือสิ่งที่ผมเห็นว่าคือ “ตุลาการภิวัฒน์” หรือมาตรฐานทางจรรยาบรรณของศาลสถิตยุติธรรมที่ก้าวหน้า เป็นการย้ำว่า “บ้านเมืองมีขึ้นมีแปนะ” ใครจะยิ่งใหญ่แค่ไหนก็อยู่ภายใต้กฎหมายเช่นกัน
เห็นด้วย
วันนั้น ก็นั่งฟังจนจบ ทั้งส่วนแรกของประชาธิปัตย์ กับของไทยรักไทย ไม่มีวามรู้เรื่องกฎหมายมากนัก ยังอึ้งกับการอ่านรายละเอียดของศาล พอฟังได้ระดับหนึ่งเราก็เข้าใจที่ไปที่มา การสอบสวนสืบปากพยาน จากเหตุและผลยังคิดสรุปก่อนศาลสรุปเลย ซึ่งก็ตรงกับศาลตัดสิน วันนั้นทำให้เข้าใจกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นและเชื่อมั่นในกระบ วนการยุติธรรมของเรา